รายละเอียดการลงทุน เพื่อรับคืนภาษีให้เต็มสิทธิ์ กับกองทุนเด่น ปี 2567
เลือกลงทุนในกองทุน SSF / RMF / Thai ESG จาก 6 บลจ. ชั้นนำ
รับของสมนาคุณสูงสุด 1,600 บาท
ยอดเงินลงทุนสุทธิสะสมในกองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) / กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) / กองทุนรวมไทยเพื่อความยั่งยืน (Thai ESG) / ยอดสับเปลี่ยนเข้ากองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) ของ UOBAM จาก บลจ.* อื่น เมื่อลงทุนทุกๆ 50,000 บาท ระหว่างวันที่ 2 มกราคม 2567 – 30 ธันวาคม 2567 รับของสมนาคุณเป็นหน่วยลงทุน มูลค่า 100 บาท** ในกองทุนเปิด ไทย แคชแมเนจเม้นท์ (TCMF) หรือ กองทุนเปิด กรุงไทยตราสารหนี้ระยะสั้น พลัส (KTSTPLUS-A) หรือ กองทุนเปิด กรุงศรีตราสารเงิน ชนิดสะสมมูลค่า(KFCASH-A) หรือกองทุนเปิด อเบอร์ดีน แคช ครีเอชั่น (ABCC) หรือ กองทุนเปิด ไทยพาณิชย์ตราสารหนี้ระยะสั้น (SCBSFF) หรือ กองทุนเปิดเค ตราสารหนี้ พลัส ชนิดผู้ลงทุนทั่วไป (K-FIXEDPLUS-A)
*เฉพาะหน่วยลงทุนของ กองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) ที่มีอยู่ก่อนวันที่ 1 มกราคม 2563
**นับยอดเงินลงทุนสุทธิสะสมในกองทุนที่ร่วมรายการของแต่ละ บลจ ทุกๆ 50,000 บาท จะได้รับของสมนาคุณเป็นหน่วยลงทุน มูลค่า 100 บาท (ตามเงื่อนไขของแต่ละ บลจ. ที่ได้ลงทุน) ตลอดระยะเวลาโครงการ
เงื่อนไขการรับของสมนาคุณ
- รายการส่งเสริมการขายนี้ให้สิทธิลูกค้าบุคคลธรรมดา (“ลูกค้า”) ที่เข้าลงทุนในกลุ่มกองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) กองทุนรวมไทยเพื่อความยั่งยืน (Thai ESG) ภายใต้การบริหารจัดการของ บลจ. ยูโอบี (ประเทศไทย) จำกัด,บลจ. กรุงไทย จำกัด (มหาชน),บลจ. กรุงศรี จำกัด,บลจ. อเบอร์ดีน (ประเทศไทย) จำกัด, บลจ. ไทยพาณิชย์ จำกัด และ/หรือ บลจ. กสิกรไทย จำกัด
- รวมถึง ยอดรายการสับเปลี่ยนเข้าของกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) ภายใต้การบริหารจัดการของบริษัทจัดการฯ เข้ามายังกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) ของ บลจ. ยูโอบี (ประเทศไทย) จำกัด เฉพาะหน่วยลงทุนที่มีอยู่ก่อนวันที่ 1 มกราคม 2563 ระหว่างช่วงเวลาส่งเสริมการขาย วันที่ 2 มกราคม 2567 – 30 ธันวาคม 2567 (หรือวันทำการสุดท้ายของเดือน ธันวาคม 2567)
- บริษัทจัดการฯ จะนับยอดเงินลงทุนสุทธิสะสม โดยพิจารณาจากลูกค้าที่ลงทุนผ่าน ธนาคารยูโอบี จำกัด (มหาชน) ตามเงื่อนไขที่ระบุใน ข้อ 1 กรณีที่ผู้ถือหน่วยลงทุนมีบัญชีผู้ถือหน่วยลงทุนภายใต้ธนาคารยูโอบี จำกัด (มหาชน) มากกว่า 1 บัญชี โดยจะพิจารณาจากหมายเลขบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ถือหน่วยลงทุนเป็นหลัก บริษัทจัดการฯ จะนับยอดเงินลงทุนสุทธิจากทุกเลขที่บัญชีผู้ถือหน่วยลงทุนภายใต้ธนาคารยูโอบี จำกัด (มหาชน) รวมกัน และมอบหน่วยลงทุนของกองทุนเปิดไทยแคชแมเนจเม้นท์(TCMF) หรือ กองทุนเปิดกรุงไทยตราสารหนี้ระยะสั้นพลัส(KTSTPLUS-A) หรือ กองทุนเปิดกรุงศรีตราสารเงินชนิดสะสมมูลค่า(KFCASH-A) หรือ กองทุนเปิดอเบอร์ดีนแคชครีเอชั่น(ABCC) หรือ กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ตราสารหนี้ระยะสั้น (SCBSFF) หรือ กองทุนเปิดเคตราสารหนี้พลัส ชนิดผู้ลงทุนทั่วไป(K-FIXEDPLUS-A) เข้าบัญชีที่ผู้ถือหน่วยลงทุนที่มียอดเงินลงทุนสุทธิสูงสุด ในกรณีที่มียอดเงินลงทุนสุทธิ เท่ากันทุกบัญชีผู้ถือหน่วยลงทุน จะมอบหน่วยลงทุนตามข้างต้น เข้าในบัญชีที่มีการทำรายการซื้อล่าสุด
- ยอดเงินลงทุนสุทธิของผู้ถือหน่วยเพื่อรับสิทธิรับของสมนาคุณ ธนาคารยูโอบี จำกัด (มหาชน) จะคำนวณจาก
- ผลรวมของยอดซื้อและ/หรือยอดสับเปลี่ยนเข้าจากกองทุนอื่นๆ ที่ไม่ใช่กลุ่มกองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) กองทุนรวมไทยเพื่อความยั่งยืน (Thai ESG) ภายใต้การบริหารจัดการ ของ บลจ. ยูโอบี (ประเทศไทย) จำกัด, บลจ. กรุงไทย จำกัด (มหาชน), บลจ. กรุงศรี จำกัด,บลจ. อเบอร์ดีน (ประเทศไทย) จำกัด, บลจ. ไทยพาณิชย์ จำกัด และ/หรือ บลจ.กสิกรไทย จำกัด ซึ่งมียอดเงินลงทุนที่ไม่เกินสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ผู้ถือหน่วยลงทุนมีสิทธิได้รับตามเงื่อนไขกรมสรรพากรกำหนด
- ยอดเงินลงทุนที่สับเปลี่ยนเข้ากองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) และ/หรือ กองทุนรวมไทยเพื่อความยั่งยืน (Thai ESG) ภายใต้การบริหารจัดการของบริษัทจัดการอื่น โดยไม่จำกัดจำนวนเงินลงทุน
- ยอดรายการสับเปลี่ยนกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) จาก บลจ.อื่น เฉพาะหน่วยลงทุนที่มีอยู่ก่อน วันที่ 1 มกราคม 2563 และผู้ลงทุนไม่สามารถนำยอดเงินลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) มาลดหย่อนภาษีได้ โดยยอดรายการสับเปลี่ยนดังกล่าว ไม่จำกัดจำนวนเงินที่สับเปลี่ยน
- ยอดรายการโอนจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund : PVD) เข้ากลุ่ม RMF ลบ ด้วยผลรวมของยอดขายคืนที่ไม่เป็นไปตามเงื่อนไขทางภาษีที่กรมสรรพากรกำหนด และยอดสับเปลี่ยนออกไป บลจ.อื่น ในช่วงเวลาส่งเสริมการขาย โดยยอดรายการโอนดังกล่าว ไม่จำกัดจำนวนเงินโอน
- เงื่อนไขการรับสิทธิในของสมนาคุณที่เป็นไปตามที่แต่ละ บลจ. กำหนด เป็นดังนี้
บลจ.
ช่วงเวลาส่งเสริมการขาย
คงยอดลงทุนสุทธิไว้จนถึง
ได้รับหน่วยลงทุนเข้ากองทุน**
ได้รับหน่วยลงทุนภายในวันที่
บลจ. ยูโอบี (ประเทศไทย) จำกัด
วันที่ 2 ม.ค. 2567 - 30 ธ.ค. 2567
วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2568
กองทุนเปิด ไทย แคชแมเนจเม้นท์ (TCMF)
วันที่ 30 เมษายน 2568
บลจ. กรุงไทย จำกัด (มหาชน)
วันที่ 2 ม.ค. 2567 - 30 ธ.ค. 2567
วันที่ 30 เมษายน 2568
กองทุนเปิด กรุงไทยตราสารหนี้ระยะสั้น พลัส (KTSTPLUS-A)
วันที่ 30 มิถุนายน 2568
บลจ. กรุงศรี จำกัด
วันที่ 2 ม.ค. 2567 - 30 ธ.ค. 2567
วันที่ 29 มีนาคม 2568
กองทุนเปิด กรุงศรีตราสารเงิน ชนิดสะสมมูลค่า (KFCASH-A)
วันที่ 30 เมษายน 2568
บลจ. อเบอร์ดีน (ประเทศไทย) จำกัด
วันที่ 2 ม.ค. 2567 - 30 ธ.ค. 2567
วันที่ 29 มีนาคม 2568
กองทุนเปิด อเบอร์ดีน แคช
ครีเอชั่น (ABCC)วันที่ 30 เมษายน 2568
บลจ. ไทยพาณิชย์ จำกัด
วันที่ 1 เม.ย. 2567 - 30 ธ.ค. 2567
วันที่ 31 ธันวาคม 2568
กองทุนเปิด ไทยพาณิชย์ตราสารหนี้ระยะสั้น (SCBSFF)
วันที่ 30 เมษายน 2568
บลจ. กสิกรไทย จำกัด
วันที่ 1 เม.ย. 2567 - 30 ธ.ค. 2567
วันที่ 31 ธันวาคม 2568
กองทุนเปิดเค ตราสารหนี้ พลัส ชนิดผู้ลงทุนทั่วไป (K-FIXEDPLUS-A)
วันที่ 30 เมษายน 2568
**นับยอดเงินลงทุนสุทธิสะสมในกองทุนที่ร่วมรายการของแต่ละ บลจ ทุกๆ 50,000 บาท จะได้รับของสมนาคุณเป็นหน่วยลงทุน มูลค่า 100 บาท (ตามเงื่อนไขของแต่ละ บลจ. ที่ได้ลงทุน) ตลอดระยะเวลาโครงการ
- รายการส่งเสริมการขายนี้จัดทำขึ้นเพื่อส่งเสริมการขายสำหรับลูกค้าที่เปิดบัญชีซื้อขายหน่วยลงทุนกับธนาคารยูโอบี จำกัด (มหาชน) โดยรายการส่งเสริมการขายนี้ไม่สามารถแลกเปลี่ยนเป็นเงินสดหรือโอนให้ผู้อื่นได้หรือเป็นไปตามที่ธนาคารกำหนด
- ผู้ลงทุนที่ได้รับสิทธิประโยชน์ในรายการส่งเสริมการขายนี้ จะไม่สามารถรับสิทธิประโยชน์ในรายการส่งเสริมการขายอื่นๆ ในช่วงเวลาเดียวกัน และ/หรือ ยอดเงินลงทุนเดียวกัน
- สนับสนุนของสมนาคุณโดย บลจ. ยูโอบี (ประเทศไทย) จำกัด, บลจ. กรุงไทย จำกัด (มหาชน), บลจ. กรุงศรี จำกัด, บลจ. อเบอร์ดีน (ประเทศไทย) จำกัด, บลจ. ไทยพาณิชย์ จำกัด และ/หรือ บลจ. กสิกรไทย จำกัด
หมายเหตุ:
กองทุนเปิด ไทย แคชแมเนจเม้นท์ (TCMF) – ระดับความเสี่ยง 1
กองทุนมุ่งเน้นลงทุนในหรือมีไว้ซึ่ง ตราสารหนี้, เงินฝาก, ตราสารเทียบเท่าเงินฝาก (แต่ไม่รวมถึงเงินฝากอิสลาม) โดยการลงทุนในตราสารแห่งหนี้นั้น กองทุนจะลงทุนในตราสารทั้งภาครัฐ และ/หรือภาครัฐวิสาหกิจ ที่มีความั่นคงและมีสภาพคล่องสูงเป็นหลัก
กองทุนเปิดกรุงไทยตราสารหนี้ระยะสั้น พลัส (KTSTPLUS-A) – ระดับความเสี่ยง 4
กองทุนมีนโยบายที่เน้นลงทุนในหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินที่เสนอขายทั้งใน และ/หรือต่างประเทศ โดยจะลงทุนในตราสารแห่งหนี้ เงินฝากหรือตราสารเทียบเท่าเงินฝาก และ/หรือตราสารทางการเงิน ซึ่งมีอันดับความน่าเชื่อถือของตราสารหรือของผู้ออกตราสารอยู่ในระดับที่สามารถลงทุนได้ (Investment Grade) และ/หรือหน่วยลงทุนของกองทุนที่มีนโยบายสอดคล้องกับกองทุนฯ โดยกองทุนอาจพิจารณานำเงินไปลงทุนในต่างประเทศได้ไม่เกินร้อยละ 50 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน ทั้งนี้ กองทุนมีนโยบายที่จะจัดการลงทุนเพื่อให้อายุดูเรชั่นเฉลี่ยของตราสารทั้งหมดของกองทุน (Portfolio Duration) ไม่เกิน 1 ปี โดยประมาณ
กองทุนเปิด กรุงศรีตราสารเงิน-สะสมมูลค่า (KFCASH-A) – ระดับความเสี่ยง 1
ลงทุนใน 1. ตราสารหนี้ภาครัฐไม่ต่ำกว่า 70% ของ NAV
2. ส่วนที่เหลือลงทุนในตราสารหนี้ภาคเอกชน สถาบันการเงิน หรือเงินฝากธนาคาร - ตราสารข้างต้นมีอันดับความน่าเชื่อถือระยะสั้น 2 อันดับแรกหรือระยะยาวที่เทียบเคียงได้หรืออันดับความน่าเชื่อถือระยะยาว 3 อันดับแรกเว้นแต่เป็นตราสารภาครัฐ และมีอายุคงเหลือไม่เกิน 397 วัน นับแต่วันที่ลงทุน - กองทุนจะดำรงอายุถัวเฉลี่ยแบบถ่วงน้ำหนัก (Portfolio Duration) ณ ขณะใดขณะหนึ่งไม่เกิน 92 วัน
กองทุนเปิด อเบอร์ดีน แคช ครีเอชั่น (ABCC) – ระดับความเสี่ยง 2
ลงทุนในหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินซึ่งสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. กำหนดให้กองทุนรวมตลาดเงินลงทุนได้ ทรัพย์สินทั้งหมดที่กองทุนลงทุนต้องมี portfolio duration ในขณะใด ๆ น้อยกว่าหรือเท่ากับ 92 วัน สำหรับเงินฝากและ ตราสารแห่งหนี้ที่กองทุนลงทุนจะมี credit rating อยู่ใน 2 อันดับแรกที่ได้มาจากการจัด credit rating ระยะสั้น หรือ credit rating อยู่ใน 3 อันดับแรกที่ได้มาจากการจัด credit rating ระยะยาว และมีกำหนดชำระเมื่อทวงถาม หรือจะครบกำหนดชำระคืนหรือมีอายุสัญญาไม่เกิน 397 วันนับตั้งแต่วันที่ลงทุนในทรัพย์สินหรือเข้าทำสัญญา
กองทุนเปิด ไทยพาณิชย์ตราสารหนี้ระยะสั้น (SCBSFF) – ระดับความเสี่ยง 4
ลงทุนในตราสารแห่งหนี้และหรือเงินฝาก ทั้งตราสารแห่งหนี้และหรือเงินฝากระยะสั้นเพื่อสภาพคล่อง และตราสารแห่งหนี้และหรือเงินฝากเพื่อการลงทุน โดยการลงทุนในตราสารแห่งหนี้นั้นจะเน้นลงทุนในตั๋วแลกเงินและตั๋วสัญญาใช้เงิน ที่มีธนาคารพาณิชย์ หรือบริษัทเงินทุนรับรอง รับอาวัล หรือสลักหลังโอนประเภทมีสิทธิไล่เบี้ย และหุ้นกู้ระยะสั้นและระยะยาวตามกฎเกณฑ์ของคณะกรรมการ ก.ล.ต. และกองทุนรวมอาจมีการลงทุนในหลักทรัพย์หรือตราสารที่เสนอขาย ในต่างประเทศโดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่เกินร้อยละ 79 ของมูลค่าทรัพยสินสุทธิของกองทุนรวม
กองทุนเปิดเค ตราสารหนี้ พลัส ชนิดผู้ลงทุนทั่วไป (K-FIXEDPLUS-A) – ระดับความเสี่ยง 4
กองทุนรวมตราสารแห่งหนี้ ลงทุนในตราสารแห่งหนี้ภาครัฐและภาคเอกชน และเงินฝากทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยลงทุนในในต่างประเทศไม่กำหนดอัตราส่วน และมีการป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนไม่น้อยกว่า 90% ของมูลค่าเงินลงทุนต่างประเทศ
วิธีการรับชำระค่าซื้อหน่วยลงทุนของลูกค้า ธนาคารยูโอบี จำกัด (มหาชน) เท่านั้น
ผู้ลงทุนสามารถชำระด้วยการหักเงินจากบัญชีเงินฝากธนาคารยูโอบี บัตรเครดิตธนาคารยูโอบี หรือเช็ค ระหว่างวันที่ 2 มกราคม 2567 – 30 ธันวาคม 2567 (หรือวันทำการสุดท้ายของเดือน ธันวาคม 2567) กรณีชำระเงินด้วยบัตรเครดิตธนาคารยูโอบี จะสามารถซื้อได้เฉพาะกองทุนของ บลจ. ยูโอบี (ประเทศไทย) จำกัด และจะไม่สามารถร่วมรายการผ่อนชำระ UOB i-Plan และไม่ได้รับคะแนนสะสม UOB Rewards Plus สำหรับการซื้อหน่วยลงทุนทุกประเภท เพื่อให้เป็นไปตามระเบียบ กลต.
เปรียบเทียบกองทุนลดหย่อนภาษี
SSF | RMF | Thai ESG | |
สิทธิในการลดหย่อนภาษี | สูงสุด 30% ของเงินได้พึงประเมิน | ||
จำนวนเงินลดหย่อนภาษี | สูงสุด 200,000 บาท และเมื่อรวมกับกองทุนเพื่อการเกษียณอื่น ๆ ต้องไม่เกิน 500,000 บาท | สูงสุด 500,000 บาท และเมื่อรวมกับกองทุนเพื่อการเกษียณอื่น ๆ ต้องไม่เกิน 500,000 บาท | สูงสุดไม่เกิน 300,000 บาท ไม่รวมวงเงินกลุ่มเกษียณ* |
นโยบายลงทุน | ตามเงื่อนไขของโครงการ | หุ้นและตราสารหนี้ไทยที่ให้ความสำคัญกับความยั่งยืน | |
การถือครอง | 10 ปีขึ้นไป นับจากวันที่ลงทุน | 5 ปีขึ้นไปนับจากวันลงทุน และอายุ 55 ปีบริบูรณ์ | 5 ปีขึ้นไปนับจากวันลงทุน |
*วงเงินกลุ่มเกษียณ รวมกันไม่เกิน 500,000 บาท ตามเงื่อนไขของกรมสรรพากร ได้แก่
กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) + กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) + กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ/กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.)และกองทุนสงเคราะห์ตามกฏหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน + กองทุนการออมแห่งชาติ + ประกันชีวิตแบบบำนาญ
เงื่อนไขการรับการลดหย่อนภาษี
- ลงทุนกองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) ได้รับการลดหย่อนภาษีสูงสุด 30% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี แต่ไม่เกิน 200,000 บาทต่อปี เมื่อรวมกับเงินลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) เงินสะสมที่จ่ายเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund) กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) กองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน กองทุนการออมแห่งชาติ และเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ
- ลงทุนกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) ได้รับการลดหย่อนภาษีสูงสุด 30% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี แต่ไม่เกิน 500,000 บาทต่อปี เมื่อรวมกับเงินลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) เงินสะสมที่จ่ายเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund : PVD) กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) กองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน กองทุนการออมแห่งชาติ และเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ
- ทั้งนี้เมื่อรวมกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) เงินลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) เงินสะสมที่จ่ายเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund : PVD) กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) กองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน กองทุนการออมแห่งชาติ และเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ สูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท
- ลงทุนกองทุนรวมไทยเพื่อความยั่งยืน (Thai ESG) ได้รับการลดหย่อนภาษีสูงสุด 30% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี แต่ไม่เกิน 300,000 บาทต่อปี โดยไม่ต้องนับรวมกับวงเงิน 500,000 บาทที่เป็นเพดานรวมของเงินลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) เงินลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) เงินสะสมที่จ่ายเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund : PVD) กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) กองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน กองทุนการออมแห่งชาติ และเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ
- เมื่อปฏิบัติตามเงื่อนไขของกรมสรรพากร และขึ้นอยู่กับฐานภาษีผู้ลงทุนแต่ละราย โปรดศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมจากกรมสรรพากร
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อ ธนาคารยูโอบี จำกัด (มหาชน) ทุกสาขา ผู้สนับสนุนการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนที่ บลจ.แต่งตั้ง หรือที่
- บลจ. ยูโอบี (ประเทศไทย) จำกัด โทร. 02 786 2222
เว็บไซต์ https://www.uobam.co.th/th/home - บลจ. กรุงไทย จำกัด (มหาชน) โทร. 02 686 6100 กด 9
เว็บไซต์ https://www.ktam.co.th/th/default.aspx - บลจ. กรุงศรี จำกัด โทร. 02 657 5757
เว็บไซต์ https://www.krungsriasset.com/TH/Home.aspx - บลจ. อเบอร์ดีน (ประเทศไทย) จำกัด โทร. 02 352 3388
เว็บไซต์ https://www.abrdn.com/ - บลจ. ไทยพาณิชย์ จำกัด โทร. 02 777 7777
เว็บไซต์ https://www.scbam.com/ - บลจ. กสิกรไทย จำกัด โทร. 02 673 3999
เว็บไซต์ https://www.kasikornasset.com/
คำเตือน :
- การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า นโยบายกองทุน เงื่อนไข ผลตอบแทน ความเสี่ยง และผลการดำเนินงานของกองทุนก่อนตัดสินใจลงทุน ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ระบุไว้ในคู่มือการลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) และกองทุนรวมไทยเพื่อความยั่งยืน (Thai ESG) กองทุน TCMF /UOBSD-SSF /KFCASH-A และ ABCC เป็นการลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมตลาดเงินไม่ใช่การฝากเงินและมีความเสี่ยงจากการลงทุนซึ่งผู้ลงทุนอาจไม่ได้รับเงินลงทุนคืนเต็มจำนวน
- กองทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนที่อาจเกิดขึ้นจากการลงทุนในต่างประเทศ ผู้ลงทุนอาจจะขาดทุนหรือได้รับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน/หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้
- ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลของกองทุนรวม โดยเฉพาะอย่างยิ่งนโยบายการลงทุน ความเสี่ยง ผลการดำเนินงาน และผลกระทบการลงทุน ที่ผิดเงื่อนไขของกองทุนรวมที่เปิดเผยไว้ในแหล่งต่าง ๆ รวมถึงศึกษาข้อมูลบนหนังสือชี้ชวนฯจากเว็บไซต์ของ บลจ. ยูโอบี (ประเทศไทย) จำกัด บลจ. กรุงไทย จำกัด (มหาชน) บลจ. กรุงศรี จำกัด บลจ. อเบอร์ดีน (ประเทศไทย) จำกัด บลจ. ไทยพาณิชย์ จำกัด และ/หรือ บลจ. กสิกรไทย จำกัด ก่อนการตัดสินใจลงทุน