หน้าหลักการธนาคารอย่างยั่งยืนการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์

การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์

คำมั่นของยูโอบีต่อการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
สุทธิเป็นศูนย์ (net zero)

 

ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มธนาคารยูโอบี ซึ่งเป็นสถาบันการเงินชั้นนำที่ดำเนินธุรกิจในภูมิภาคนี้ จึงมุ่งมั่นเป็นอีกหนึ่งพลังบวกในการต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ คำมั่นของยูโอบีต่อการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (net zero) ภายในปี 2593 ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความต้องการการเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรมที่ยังคงสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจและสังคม ตลอดจนให้ประชาชนเข้าถึงพลังงานได้มากขึ้นในประเทศต่างๆ ที่มีความหลากหลายในภูมิภาค พร้อมกับกระบวนการกำจัดคาร์บอนจากเชื้อเพลิงฟอสซิลเป็นศูนย์ (decarbonisation)

ในฐานะธนาคารพาณิชย์ ยูโอบีตระหนักดีถึงบทบาทในการเป็นผู้เร่งและผู้สร้างอิทธิพลต่อเศรษฐกิจจริงต่อหนทางสู่การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ เราอยู่ระหว่างการรวมเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์นี้เข้ากับกลยุทธ์ทางธุรกิจและการปฏิบัติของธนาคาร ในการนี้ ธนาคารยูโอบี ประเทศไทยจะเชิญชวนให้ลูกค้ามีส่วนร่วมอย่างแข็งขันเพื่อสนับสนุนให้ลูกค้าของธนาคารกำหนดแผนงานลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ หรือปรับแผนที่มีอยู่แล้วให้ท้าทายยิ่งขึ้น รวมถึงผ่านการให้สินเชื่อเพื่อการเปลี่ยนผ่าน นอกจากนี้ เราจะมุ่งอนุมัติสินเชื่อแก่โครงการและกิจกรรมสีเขียวมากขึ้น และถอยห่างจากโครงการที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนมากที่สุด

ความมุ่งมั่นและเป้าหมายของเรา

การกำหนดเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ของยูโอบีตั้งอยู่บนพื้นฐานของหลักวิทยาศาสตร์และแบบจำลองสภาพภูมิอากาศที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล หลังพิจารณาความแตกต่างด้านโครงสร้างของทั้งภูมิภาคแล้ว เราจึงได้สรุปเป็นแนวทางดำเนินการระดับภูมิภาคสำหรับเป้าหมายบางประการที่แสดงถึงการมีส่วนร่วมสำคัญในตลาดหลักๆ ของเรา

ในแรกเริ่ม ยูโอบีให้ความสำคัญกับระบบนิเวศที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนหลักๆ 2 ระบบ ได้แก่ พลังงานและสิ่งแวดล้อมสร้างสรรค์ ซึ่งครอบคลุม 6 กลุ่มอุตสาหกรรมที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปริมาณมากในภูมิภาคนี้ และคิดเป็นร้อยละ 60 ของพอร์ตโฟลิโอสินเชื่อลูกค้าขนาดใหญ่ของยูโอบี ทั้ง 6 อุตสาหกรรมที่กล่าวถึงนี้เป็นอุตสาหกรรมที่สำคัญอันดับต้นๆ ในกระบวนการ decarbonisation

ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง